วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บทที่ 10 การสืบค้นค้นข้อความด้วยอินเตอร์เน็ตและจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1.ความหมายอินเทอร์เน็ต
    อินเทอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายของข้อมูลและคอมพิวเตอร์สาธารณะขนาดใหญ่ที่เกิดจากระบบเครือข่ายขนาดเล็กๆ หลายๆ เครือข่ายที่อาศัยมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกันต่อเชื่อมเข้าหากันเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลอินเทอร์เน็ตแต่เพียงผู้เดียว
2.ระวัติความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
จุดกำเนิดเริ่มแรกของอินเทอร์เน็ตนั้น เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ทางการทหารและความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าหากันแม้จะมีระบบที่แตกต่างกันและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเรื่องหนึ่งในระบบที่ต่ออยู่จะไม่สามารถทำงานได้ และการพัฒนาการของระบบก็มีมาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
    พ.ศ.2512 หน่วยงาน ARPA (Advance Research Project Agency) ซึ่งเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ของสหรัฐ ได้ริเริ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ มีชื่อโครงการว่า ARPANet ผู้ที่ทำโครงการนี้ก็คือผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ ในระยะแรกใช้โทรศัพท์ในการต่อเชื่อมผ่านโปรโตคอล (Protocol) NCP (Network Control Protocol) และจำกัดจำนวนเครื่องที่สามารถต่อเข้าในระบบด้วย
    พ.ศ.2514 มีการสร้างโปรแกรมรับส่ง E-mail เพื่อสื่อสารกันระหว่างระบบเครือข่ายต่างๆ
    พ.ศ.2516 ARPANet ได้เชื่อมต่อไปยังประเทศ อังกฤษและนอร์เวย์
    พ.ศ.2525 ARPANet เปลี่ยนจาก NCP มาเป็น TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
    พ.ศ.2527 มีการเริ่มใช้ระบบ DNS(Domain Name Server)
    พ.ศ.2529 ก่อตั้ง NSFNET(National Science Foudation Network) มีความเร็ว 56 Kbps. เพื่อเชื่อมต่อเครื่อง supercomputer จากสถาบันต่างๆเข้าด้วยกัน และได้ชื่อว่าเป็น Backbone ที่สำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต
    พ.ศ.2530 หน่วยงาน Merit Network ได้เข้ามาเป็นผู้ดูแล NSFNET
    พ.ศ.2532 NSFNET เพิ่มความเร็วเครือข่ายเป็น 1.544 Mbps จำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 เครื่อง
    พ.ศ.2533 ARPANet หยุดดำเนินการ
    พ.ศ.2534 มีการก่อตั้ง NERN (National Research and Education Network) จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 376,000 เครื่อง ในเดือนมกราคม เป็น 617,000 เครื่อง ในเดือนตุลาคม
    พ.ศ.2535 มีการเริ่มใช้ WWW ที่ CERN (the European Laboratory for Particle Physics) NSFNET เพิ่มความเร็วเป็น 44.736 Mbps จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 1,00,000 เครื่อง
    พ.ศ.2536 NSF ก่อตั้ง InterNIC เพื่อเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการแจกจ่ายชื่อโดเมนบริษัทและผู้สนใจต่างๆเริ่มเชื่อมต่อตัวเองเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
    พ.ศ.2537  NCSC (National Center for Computing at University of lllinois) สร้างโปรแกรม Mosaic เป็นโปรแกรม Webbrowser เริ่มมีการทำการค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตและมีโปรแกรมที่ช่วยสำหรับค้นหาข้อมูลเกิดขึ้น
    พ.ศ.2538 ยกเลิกโครงการ NSFNET และเปลี่ยนนไปลงทุนกับโครงการ vBNS (Very High Speed Backbone Network Service) เพื่อเป็น Backbone ให้แก่อินเทอร์เน็ตในอนาคต
3.พื้นฐานการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต
    ระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นอาศัยโปรโตคอล TCP/IP เป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP ก็คือ การต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดเข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็น TCP/IP นั้นทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลหมายเลขที่กำกับนี้มีชื่อว่าหมายเลย IP หมายเลขนี้จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิตสามารถเขียนได้เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ชุดแยกจากกันโดยใช้จุดคั่นเลขแต่ละชุดสามารถ สามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 192.150.249.1164.4.43.7 เป็นต้น
 11111111   .     11111111   .     11111111   .     111111112
  255  .     255  .     255  .     255
    จากหมายเลข IP ขนาด 32 บิตที่ใช้ในปัจจุบันทำให้สามารถมีจำนวนเครื่องที่เข้าใช้ ได้จำนวนหลายพันล้านเครื่องแล้วแต่จำนวนขนาดนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้ต้องมีโครงการขยายหมายเลข IP ออกไปอีกในปัจจุบัน ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทุกเครื่องที่สามารถต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องมีหมายเลข IP ด้วยเสมอสามารถดูได้จากโปรแกรมที่เตรียมไว้ในเครื่อง เช่นในระบบ windows จะใช้คำสั่ง winipcfg สามารถเข้าไปที่ Start / Run / winipcfg แล้วกด ok จะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลข IP ปรากฏขึ้นมาดังภาพ


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
       ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
       กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา
          ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)



ปี พ.ศ.2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ


ความหมายของ Search Engine
    Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกดEnter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
ประเภทของ Search Engine
        Search Engine มี 3 ประเภท (โดยทั่วๆไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลายๆประเภทด้วยกัน แต่พอสรุปได้เพียง 3 ประเภทหลักๆกังที่จะนำเสนอต่อไปนี้)
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบ ของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดังhttp://www.google.com

Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
    จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันครับ
 ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
         Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้


ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูลDirectory
         1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลกSearch Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
         2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
         3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ
 ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
         Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษาHTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
        ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.
การใช้งาน Google
ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลาย
ประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยูใน ่ Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยูใน่
ระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกวา ตัวค้นหา ่ (Search Engine) โดยตัวค้นหา (Search
Engire) นี้จะถูกบรรจุอยูใน ่ Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com,
www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนําถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com
ซึ่งจําเป็ นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ
เป็ นจํานวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคําอธิบายการใช้งานเป็ นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th
เมื่อเราพิมพ์ที่อยู่www.google.co.thลงในช่อง Addres แล้วกด Enter จะปรากฏหน้าแรก
ของ Web Site ซึ่งจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังรูป


รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าค้นหาของ www.google.co.th
โดยที่มีส่วนประกอบต่างๆ คือ
1) เป็ น Logo ของ www.google.co.th
2) เป็ นประเภทของการค้นหาวาให้ค้นหาข้อมูลที่อยู ่ ใน่ เว็บ(Web Site)
3) เป็ นประเภทของการค้นหาวาให้ค้นหา ข้อมูลที่เป็ นรูปภาพ ่
4) เป็นประเภทของการค้นหาที่แยกตามกลุ่มข่าวเรียงตาม Usene
5) เป็ นประเภทของการค้นหาโดยจะแยกเป็ นหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น Arts, Home, Business,
Gomes เป็ นต้น
ซึ่งตัวเลือกในข้อ 2-5 เมื่อเรากดคลิกที่แถบใดแถบหนึ่งก็จะปรากฏเป็ นแถบเข้มที่เราเลือกไว้
โดยปกติแล้วเมื่อเราเปิ ดหน้าแรกขึ้นมา Web Site google จะกาหนดการค้นหาให้ไว้ที่เว็บ ํ
6) เป็ นช่องสําหรับใส่ค่า (keyward) ที่เราต้องการค้นหา
7) เป็ นปุ่ มกดสําหรับเริ่มการค้นหา
8) เป็ นปุ่ มสําหรับค้นหาเว็บอยางด่ ่วน โดยการค้นหาจะนําเว็บที่อยูอยู ่ ในลําดับแรกที่อยู ่ ใน่
ลําดับแรกที่ค้นหาพบ มาเปิ ดให้ในหน้าถัดไปเลย
9) เป็ นตัวเลือกสําหรับการค้นหาแบบละเอียดโดยในตัวเลือกนี้จะมีการกาหนดเงื่อนไขใน ํ
การค้นหาเพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิงขึ ่ ้น เช่น ภาษาชนิดไฟล์วันที่ เป็ นต้น
10) เป็ นตัวเลือกสําหรับการปรับแต่งตัวเลือกใช้สําหรับการปรับแต่งรูปแบบเครื่องมือใน
การค้นหา เช่น จํานวน เว็ปที่แสดงในการค้นหาต่อหน้า
11) เป็ นตัวเลือกสําหรับเครื่องมือเกี่
ยวกบภาษาเพื่อใช้ในการค้นหา ั
การใช้งาน Google
ถ้าเราต้องการค้นหา คําวาฟิ สิกส์ เราทําได้โดย ่ พิมพ์คําวา่ ฟิ สิกส์ ลงในช่องสําหรับใส่คําที่
ต้องการค้นหา ( keyword) แล้วกดปุ่ ม ค้นหาโดย Google

การค้นหาจะแจ้งจํานวนเว็บที่แสดง จํานวนเว็บที่พบ และเวลาที่ใช้ในการค้นหา ในกรณีที่การค้นหาพบ
ข้อมูลมากกวา ที่จะแสดงในได้หมดใน 1 หน้า ทาง ่ www.google.co.thก็จะแสดงหน้าถัดไปได้โดยเรา
สามารถแถบ ที่ตอนล่างของหน้า Web Site
การค้นหาของ www.goole.co.th จะมีคําสั่งในการค้นหาโดย
1) Google จะใช้เงื่อนไข และ” (and) ในการค้นหาในรูปแบบของประโยคอยุเสมอ ่
2) ถ้าเราต้องการใช้เงื่อนไข หรือ” (OR) สําหรับเชื่อมคําที่ต้องการค้นหา คือ นําผลที่ค้นหาได้ของทั้
งหมดมารวมกัน
3) การค้นหาของ google สามารถค้นหาแบบเป็ นกลุ่มคําหรือเป็ นวลีเราสามารถใช้
เครื่องหมาย “ ” เช่น “physics momentum”
4) Googleจะสามารถค้นหาไฟล์ในรูปแบบอื่น ๆ โดยประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
Adobe Portable Document Format (มีนามสกุล เป็ น pdf)
Adobe Post Script (มีนามสกุลเป็ น ps)
Lotus 1-2-3 (มีนามสกุลเป็ น wk 1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus Wordpro (มีนามสกุลเป็ น lwp)
MacWrite (มีนามสกุลเป็ น mw)
Microsoft Word (มีนามสกุลเป็ น doc)
Microsoft Excel (มีนามสกุลเป็ น xls)
Microsoft Power Point (มีนามสกุลเป็ น ppt )
Text File (มีนามสกุลเป็ น txt )
เราสามารถค้นหาโดยระบุชนิดของไฟล์ที่เราต้องการค้นหาได้โดยใช้ค่าวา่ filetype : แล้ว
ตามด้วยนามสกุลของไฟล์ที่เราต้องการค้นหา
เว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
เว็บบราวเซอร์ เป็นโปรแกรมใช้ในการดูข้อมูงข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเทียบได้กับยานพาหะนะที่ใช้ท่องโลก World Wide Wed โปรแกรมเซอร์ทำงานโดยโปรโตคอลพิเศษที่เรียกว่า HTTP (HyperText Explorer, Netscape Navigator) ในการติดต่อขอข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ และข้อมูลตามรูปแบบของรหัสของภาษา HTML  ( Hyper Text Markup Language )
                โปรแกรมที่นิยมใช้มาก เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator และ โปรแกรม Internet Explorer ได้รับความนิยมมาที่สุด เนื่องจากใช้งานได้ดีและยังแถมมาให้แล้วกับ Windows 98.2000, ME,XP และ Windows 7 จึงต้องไม่ต้องเสียเวลาๆปหาโปรแกรมมาติดตั้งลงในเครื่องก่อนใช้งาน ตัวอย่างของโปรแกรมบราวเชอร์บนระบบการปบัติการต่างๆ ดังนี้
ระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมบราวเซอรื
ดอส
Lynx2.8 For DOS386+, DosLynx,Minuet, Archne.Net-Tamer,DR-WebSpyDer
แมคอินทอช
NetscapeNavigator, Internet  Explorer.CyderDog, iCad
ยูนิกซ์/VMS/Win32 (text based)
Lynx
CS/2
Netscape Navigator, Lynx,
X Windcw
Netscape Navigator, Internet  Explorer, Opera Amaya,Chimera, KFN, Lynx,MMM,Mosaic
windowsSystem
Netscape Navigator, Internet  Explorer, Opera




4.การใช้งาน Internet Explorer 7.0 ขั้นพื้นฐาน
บทความอธิบายการใช้งานโปรแกรม Internet Explorer 7.0 การใช้คำสั่ง เมนูต่างๆ สำหรับดูข้อมูลในเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
IE (ไออี) หรืออินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ โปรแกรมสำหรับดูข้อมูล ค้นหาข้อมูลต่างๆ ใน อินเตอร์เน็ต รุ่นที่มากับ Windows Vista จะเป็นรุ่น 7.0 ซึ่งก็ได้มีการ พัฒนาความสามารถต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความสามารถด้านการป้องกันโปรแกรมประเภทสปายแวร์ที่จะเข้ามาก่อกวนคอมพิวเตอร์
การเข้าโปรแกรม
1.             คลิกปุ่ม Start>All Programs>>Internet Explorer



ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรมใน Internet Explorer 7
1. ชื่อเว็บไซต์ที่กำลังเยี่ยมชมอยู่ขณะนั้น
2. ปุ่มควบคุมหน้าจอโปรแกรม ปุ่มย่อหน้าจอ ปุ่มขยายเต็มจอภาพและปุ่มปิดหน้าจอโปรแกรม เมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้ว
3. ปุ่ม Previous และ Next สำหรับย้อนกลับไปดูหน้าจอเว็บไซต์ก่อนหน้านั้นที่เคยดูมาแล้ว หรือเว็บหน้าถัดไป
4. ช่อง Address สำหรับพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการเข้าเยี่ยมชม เช่น www.honda.co.th
5. Live Seach สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการค้นหา เช่น จะค้นหาเกี่ยวกับรถ Toyota ก็พิมพ์ Tayota ลงไป แล้วกด Enter
6. Favorites แสดงรายชื่อเว็บไซต์ที่ได้บันทึกเก็บไว้
7. เพิ่มชื่อเว็บไซต์เข้าไปใน Favorites
8. Tab การแสดงเว็บเพจใน IE 7.0 จะใช้แท็ปแสดงแต่ละหน้าเว็บเพจ ไม่ได้เปิดเป็น window หรือหน้าจอใหม่เหมือนเวอร์ชั่นก่อนนี้ เมื่อคลิกที่แท็ป ก็จะแสดงข้อ มูลในเว็บเพจนั้นๆ
9. ปุ่ม ไว้ปิดแท็ป
10. ปุ่มเปิดแท็ปใหม่
11. ปุ่ม Print สำหรับพิมพ์หน้าจอเว็บเพจ ออกทางเครื่องพิมพ์
12. ปุ่ม Page สำหรับการแสดงหน้าจอเว็บเพจแบบต่างๆ
13. Tools สำหรับการเรียกคำสั่งปรับแต่งการใช้งาน Internet Explorer เพิ่มเติม
14. เว็บเพจที่ถูกเปิดอ่านหรือเว็บไซต์ที่กำลังเข้าเยี่ยมชมอยู่ในขณะนั้น
15. ในเว็บเพจก็มีทั้งภาพ ข้อความ และภาพเคลื่อนไหว
16. ส่วนใดที่เลื่อนลูกศรไปชี้แล้วลูกศรเปลี่ยนเป็นรูปมือ แสดงว่าเป็นลิงค์ที่มีการเชื่อมโยงไปหา เว็บเพจหรือเว็บไซต์อื่นๆ ก็สามารถคลิกเพื่อตามไปอ่านข้อมูล ได้
17. ในเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีการจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ มีหัวข้อให้คลิกเลือกเพื่อดูข้อมูล อาจ จะอยู่ด้านบนหรือเป็นคอลัมน์อยู่ด้านซ้ายมือ
18. Scroll Bar แถบเลื่อนดูข้อมูล ที่อยู่ด้านล่าง




.การใช้งาร Toolbar
                เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Inter Expiorer แล้ว เครื่องมือหลักของ IE ที่จะเรียกใช้งานอยู่เป็นประจำคือ Toolbar ซึ่งเป็นส่วนมราใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรม 6. การใช้  Internet Options(แบบ Genneral)
                เมื่อเปิดโปรแกรม Internet Explorerเพื่อสืบค้นข้อมูล ให้คลิกเมาส์ที่เมนู Tools แล้วเลื่อนมาที่แถยคำสั้ง Internet Options เพื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการใข้งาน ของโปรแกรม
ซึ่งคำสั่งนการกำหนดเงื่อนไขจะมีอยู่จำนวน 6 กลุ่มด้วยกัน คือ
1.Genersl เป็น Tab ที่ใช้กำหนดทั่งๆไป เกี่ยวกับการใช้  Internet  ได้แก่
-เงื่อนไขในการการกำหนด Home Page
-เงื่อนไขในการสำรอง file
-เงื่อนไขในการจัดเก็บข้อมูลจาก  Internet  ยัอนหลัง
-เงื่อนไขการกำหนดค่าต่างๆ เกี่ยวกับตัวหนังสือ
2.Security เป็น Tab เพื่อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ Internet
3.Content
4. Couection เป็น Tadที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Internet
5. Programs
6.Advanced

7.การตั้งค่า internet option แบบGeneral
7.1 การตั้งค่าหน้า wedsite ที่ชื่อชอบ ตั้งใจเป็นหน้าแรกทันที่ที่เปิด internet Expiorer
                เมื่อเปิด internet Expiorer  ขันมา website ของบริษัท Microsoft ก็จะถูกตั้งค่าให้เป็นหน้าแรกทันที่ แต่ถ้า ต้องการให้โปรแกรมเปิดไปที่ website ที่ชื่นชอบ ทันทีที่เปิดโปรงแกรม internet Expiorer ขึ้นมา จะทำอย่างไร เช่นผู้ที่ติดตามข่างสารของหมาวืทยาลัยอยู่ประจำ ทำอย่างไรให้เปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว เข้าที่ wedsite ของมหาลัยธุรกจิบัญฑิตย์ (http://www.dpu.ac.th/ทันที่
วิธีการเปิด wed ที่เราชื่นชอบขึ้นมาทันที มีดังนี้
1.ที่กรอบ  internet  option ที่เปิดขึ้นมา
7.3 เก็บข้อมูลย้อนหลัง  History
ในการเก็บข้อมูลจาก  Internet  ไว้ในเคริองคอมพิวเตอร์สามรถกำหนดได้ว่าจะให้เก็บข้อมูลย้อนหลังไปนานเท่าไหร่ และสามารถที่จะลบข้อมูลย้อนหลังได้  โดยกำหนดในส่วนของ History
1)    Day  to  keep  page   in  history   หมายความว่า  จะเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร็  กี่วัน  ให้พิมพ์จำนวนวันที่ต้องการลงไป    
2)    Clear history  คือลบข้อมูลใน  history  ที่จัดเก็บไว้  ถ้าคลิกที่ปุ่มนี้จะมีกรอบการยืนยันการลบมาให้ยืนยัยอีกครั้ง
7.4 กำหนดสีของตัวหนังสือ

การกำหนดสี   สามารถกำหนดได้ว่า   ต้องการให้สีตัวหนังสือบน  wedpage  เมื่อเวลาค้นหาข้อมูลจาก   Internet   มีสีอะไร  จะสามารถกำหนดได้เพิ่มเติมจากปุ่ม  Colors   แล้วเลือกสีตัวหนังสือตามที่ติองการ

7.5 การกำหนดรูปแบบตัวหนังสือ
ถ้าต้องการเปลี่ยนรูปแบบ หรือ Font  ของตัวหนังสือ  ให้คลิกที่ปุ่ม Font  แล้วเลือก Font  ตามที่ติองการ  ดังนี้
1)     Language  เลือกภาษาที่ต้องการแสดง (ชิอเราใช้ภาษาไทย)
    2.wed  page  font  ให้เลือก  font ที่ต้องการ  
โปรแกรม Internet  Explorer
ปนกรมบราวเซอร์
บราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมมีหลายโปรแกรม  ซึ่งแต่ล่ะโปรแกรมก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไปการเลือใช้โปรแกรมบราวเซอณ์นั้นขึ้นอยู่ปัจจัยหลายประการ  เช่น ชนิดของระบบปฎิบัติการว่าเป็นระบบไมโครซอฟต์วินโดว์   แมคโอเอส ยูนิกซ์  หรือรีนุกซ์ รวมทั้งผู้ให้  นอกจากนี้ราคายังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการเลือกสำหรับผู้ใช้งานไ ม่น้อย
2. โปรแกรม Internet Explorer
โปรแกรม Internet Explorer  หรือเรียกย่อยๆ  ว่า  IE  เป็นโปรแกรมประเทบราวเซอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท   ไมโครซอฟท์  ซึ่งป็นผู้ผลิตเดียวกับโปรแกรม  Windows  ดังนั้น  IE จึงแถมมาให้ Windows อยู่แล้ว  ใน Windows   98  และ  Windows 2000  จะมีโปรแกรม IE version  s  แถมมาให้ 
3. คุณสมบัติที่น่าสนใจ Internex  Explorer
นอกจากความสามารถในการเปิดเว็บเพจในอินเทอร์เน็ตเเล้ว  IE  ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ  ที่นาสนใจดังนี้
- มีคุณสมบัติ  IntelliSense  ซึ่งสามารถจดจำสิ่งที่เราพิมพ์ลงไปและนำมาแสดงในตัวเลือกต่อไปที่ต้องการพิมพ์
- หากว่ากรอกแอดเดรสหรือเมนเนมผิด  โปรแกรม  IE  สามารถเดาให้เป็นแอดเดรสที่น่าจะถูกต้องได้
- หากต้องการพิมพ์เว็บเพจออกทางพรินเตอร์   สามารถดูตัวอย่างก่อนพิมพ์ได้
-  สามารเปิดดูรายการของเว็บเพจที่เคยชมไปแล้วได้
-  สามารถใส่แอดเดรสของเว็บเพจที่ไปชมบ่อยๆ
-   สามารถ  Save เว็บเพจทั้งข้อความและภาพทั้งหน้า
-   สามารถแสดงเว็บเพจได้ทุกภาษา
จริยธรรม หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ในทางปฏิบัติแล้วการระบุว่าการกระทำสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนักทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย
               ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม หากพิจารณาอีกด้านหนึ่งแล้ว  คอมพิวเตอร์ก็อาจจะเป็นภัยได้เช่นกัน หากผู้ใช้ไม่ระมัดระวังหรือนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในการการใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกันในสังคม  ในแต่ละประเทศจึงได้มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมถึงกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดจริยธรรม ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม  เช่น
         - การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย หรือก่อให้เกิดความรำราญ
          - การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
          - การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
           - การละเมิดลิขสิทธิ์

             โดยทั่วไป เมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4   ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
 1.1  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
 ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไป หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งส่วนบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ  ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
 - การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
 - การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ  แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
 -. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
 -. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

              ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล  โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการให้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และ ที่อยู่อีเมล์
1.2  ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์กรให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็น คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
1.3  ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์  คอมพิวเตอร์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น  ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นสำหรับท่านเอง หลังจากที่ท่านเปิดกล่อง หรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายความว่า ท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท
1.4  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
ปัจจุบันการใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้นในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
2.  จริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะกล่าวถึงใน  4 ประเด็นคือ
1.  ความเป็นส่วนตัว (Information  Privady)
2.  ความถูกต้อง (Information  Accuracy) 
3.  ความเป็นเจ้าของ  (Information  Property)
4.  การเข้าถึงข้อมูล  (Data  Accessibility)
3. รูปแบบในการพิจารณาประเด็นทางจริยธรรมสังคมและการเมือง
คววามสัมพันธ์ของหลักจริยธรรม  สังคม  ละการเมืองเป็นสิงที่มีความผูพันต่อกันอย่างเหนียวแน่น   ผู้บริหารระบบสารสนเทศมักจะพบกับทาง  2  แพร่ง  ที่ไม่สามรถหาทางออกได้ง่ายเมื่อพิจารณาตามหลักจริยธรรมที่ถูกสะท้อนออกมาในรูปของการโต้เถียงทางสังคมและการเมือง  ความสมดุลของกลุ่มบุคคล สังคม และองค์กรทางการเมืองแต่ล่ะบุคลรู้วิธีจะต้องปฎิบัติภายในสระน้ำที่สมดุลนี้เพราะสถานบันการศึกษา  ได้พัฒนากฎเกณฑ์  อันทรงคุณค่าไว้ให้ปฎิบัติตาม
4. จริยธรรมในยุคสังคมข่าวสาร
มนุษย์ที่มีจริยธรรม  คือกลุ่มคนที่มีความต้องการเป็นอิสระในทางเลือกของตนเอง   หลักจริยธรรมจึงเกี่ยวกับทางเลือกของแต่ล่ะบุคล  ซึ่งเมื่อเผชิญหน้ากับการปฎิบัติที่มีหลายทางเลือกแล้ว  จะต้องสามรถพิจารณาว่าอะไรคือทางเลือกที่ชอบธรรม  หรืออะไรเป็นลักษณะเด่นของทางเลือกที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรม